ผู้ผลิตกระเบื้องซีเมนต์ ปูพื้นและมุงหลังคา ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในยุครัตนโกสินทร์มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน โดยเริ่มต้นการผลิตตั้งแต่สมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทยได้ไม่นาน (ดูประวัติบริษัท) จนถึงปัจจุบัน

กระเบื้องปูพื้นดาดฟ้ากันร้อน SOLAR slab

กระเบื้องกันร้อน SOLAR slab คืออะไร

กระเบื้องกันร้อน SOLAR slab แตกต่างจากกระเบื้องปูพื้นทั่วๆไปด้วยการขึ้นรูปกระเบื้องให้มีขาที่มุมทั้งสี่ของแผ่นกระเบื้อง  ดังนั้นเมื่อนำกระเบื้องไปวางบนพื้นเรียบ  ก็จะมีโพรงเกิดขึ้นระหว่างใต้ท้องกระเบื้องกับผิวพื้น

กระเบื้องกันร้อน  SOLAR slab ทำงานอย่างไร ( Conduction  Radiation  Convection )

ตามปรกติแสงแดดเมื่อส่องกระทบผิวพื้นดาดฟ้าสักพักหนึ่ง  พื้นดาดฟ้าก็จะร้อนขึ้นและความร้อนที่เกิดขึ้นจะถูกนำผ่านทะลุจากผิวสู่เบื้องล่างพื้น (Conduction) และแผ่กระจาย (Radiation)ไปให้กับอากาศในห้องที่อยู่ใต้พื้นดาดฟ้า  ทำให้อากาศภายในห้องเริ่มร้อนขึ้น  เวลายิ่งผ่านไปแสงแดดก็ยิ่งแรงขึ้น  ปริมาณความร้อนก็จะถูกผ่องถ่ายเข้าไปในห้องเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว อุณภูมิห้องก็จะสูงขึ้นเป็นลำดับ

หากนำ กระเบื้องกันร้อน SOLAR slab  มาปูบนพื้นดาดฟ้า  แสงแดดจะส่องกระทบกับผิวกระเบื้องแทนที่จะกระทบกับผิวพื้นดาดฟ้า  กระเบื้องก็จะร้อนขึ้น  แต่ความร้อนที่เกิดขึ้นจะถูกนำไปผ่องถ่ายให้กับอากาศซึ่งอยู่ในโพรงใต้กระเบื้อง (Conduction & Radiation) อากาศเมื่อสะสมความร้อนได้ปริมาณหนี่งจะลอยตัวขึ้น  อากาศที่เย็นกว่าจะไหลเข้าไปแทนที่ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ตามปรกติของการพาความร้อน (Convection) ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติตลอดเวลาตามหลักทางฟิสิกส์  ผลคือช่วยลดอุณหภูมิห้องใต้ดาดฟ้าลงได้ระดับหนึ่ง

นอกจากนี้  การปูพื้นดาดฟ้าด้วย กระเบื้องกันร้อน SOLAR slab ยังช่วยป้องกันการแตกร้าวของพื้นดาดฟ้าอันเนื่องมาจากความร้อน และหากพื้นดาดฟ้ามีการฉาบทับหรือปูด้วยวัสดุกันซึมชนิดใด  กระเบื้องกันร้อน SOLAR slab ก็จะทำหน้าที่เป็นเกราะช่วยป้องกันการกระทบกับรังสี UV จากแสงแดดโดยตรงให้กับวัสดุกันซึมนั้นๆ  อีกทั้งยังช่วยป้องกันการขูดขีดเสียดสีที่อาจจะเกิดขึ้น  นับเป็นการยืดอายุการใช้งานของวัสดุกันซึมให้ยาวนานกว่าที่ควรจะเป็น

กระเบื้องกันร้อน SOLAR slab ใช้ปูที่ไหนบ้าง

  • ใช้ปูบนพื้นชั้นดาดฟ้า เพื่อลดความร้อนของห้องใต้ดาดฟ้า ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศ
  • ใช้ปูเมื่อจะทำสวนลอยฟ้า กรณีที่ต้องการสร้างสนามหญ้าหรือปลูกต้นไม้บนชั้นดาดฟ้าของอาคาร โพรงใต้กระเบื้องจะทำหน้าที่เป็นทางระบายน้ำ
  • ใช้ปูบนพื้นห้องใต้ดิน ที่มีปัญหาพื้นคอนกรีตมีความชื้น เป็นอุปสรรคกับการปูพื้นด้วย พรม ไม้ปาร์เก้ กระเบื้องยาง ฯลฯ
  • ใช้ปูทางเดินภายนอกอาคาร โดยขาทั้ง 4 ของกระเบื้องจะจิกแน่นลงบนพื้นผิวที่ปู ไม่ว่าจะเป็น ดิน  พื้นทรายอัดแน่น หรือแม้กระทั่งพื้น ปูน-ทราย (Mortar) ที่ยังไม่แข็งตัว (Setting)

ข้อมูลทางเทคนิค